วิธีการอ่าน Tab เบื้องต้น

วิธีการอ่าน Tab เบื้องต้น (สำหรับมือใหม่)
Tab หรือ Tablature ก็คือรูปแบบของสัญลักษณ์ที่ใช้สำหรับการบันทึก และอ่านเสียงของ
เครื่องดนตรีที่เป็นพวกเครื่องสายโดยเฉพาะ อันได้แก่ กีตาร์ หรือ Ukulele มีลักษณะที่
คล้ายกับโน๊ตดนตรีมาตราฐาน(Standard Notation/Score) ที่บันทึกลงในบรรทัด 5 เส้น
แต่ Tab มีข้อดีกว่าตรงที่ว่านอกจากจะบอกว่าต้องเล่นโน๊ตเสียงอะไร? จังหวะเป็นยังไง? แล้ว
Tab ยังบอกตำแหน่งในการวางนิ้ว และรวมไปถึงรายละเอียดของเทคนิคที่ใช้การเล่นอีกด้วย
จึงทำให้เราสามารถอ่านและเล่นตาม Tab ได้ง่ายกว่าโน๊ตมาตราฐาน




1. เส้นแนวนอนบน Tab ก็คือตัวแทนของสายบน Ukulele
Tab สำหรับ Ukulele นั้นมีลักษณะเดียวกันกับ Tab ของกีตาร์ จะแตกต่างกันก็ตรงที่ Ukulele มี
เพียง 4 สาย ในขณะที่กีตาร์จะมี 6 สาย แต่วิธีการอ่านและสัญลักษณ์ที่ใช้ส่วนใหญ่ก็จะเหมือนกัน
เส้นแนวนอนของ Tab 4 เส้น จะแสดงถึงสายของ Ukulele ทั้ง 4 สายนั่นเอง ถ้าเราวาง Ukulele
หงายเอาไว้โดยให้ส่วนหัวชี้ไปด้านซ้ายมือ (ดังรูป)



เส้นแนวนอนเส้นบนสุดของ Tab ก็จะแสดงถึงสายที่ 1 ของ Ukulele ซึ่งหากตั้งเสียงตามมาตราฐาน
C Tuning เมื่อดีดสายเปล่าก็จะเป็นเสียง A เส้นแนวนอนเส้นที่สองถัดมาก็จะแทนสายที่ 2 เสียง E
ส่วนเส้นแนวนอนเส้นที่สามก็จะแทนสายที่ 3 เสียง C และเส้นแนวนอนเส้นสุดท้ายก็จะแทนสายที่ 4
ซึ่งก็คือเสียง G ตามลำดับ
2. การแบ่งห้องบน Tab และตัวเลขอัตราจังหวะของ (Time Signature)
Tab ในแต่ละบรรทัดจะแบ่งออกเป็นห้อง(Bar) เพื่อให้อ่านได้ง่าย โดยจะกั้นแต่ละห้องด้วยเส้นแนวตั้ง
เล็ก ๆ โดยมีตัวเลขกำกับเอาไว้ในแต่ละห้องเพื่อให้ง่ายต่อการอ้างถึง (ดูตัวเลขสีแดง) ซึ่งในบางครั้งก็
อาจไม่มีตัวเลขกำกับเอาไว้ทุกห้องเพื่อความสวยงามและไม่แกะกะสายตา จึงอาจจะแสดงตัวเลขห้อง
กำกับเอาไว้เพียงบางห้องเท่านั้น



ส่วนเจ้าตัวเลข 4/4 ที่เขียนกำกับไว้ในห้องที่ 1 นั้นจะแสดงให้ทราบถึงอัตราจังหวะ (Time Signatiure)
ของเพลงนั้น ๆ ว่าเล่นด้วยอัตราจังหวะแบบใด ถ้าไม่มีการเขียนกำกับไว้ที่ห้องอื่นอีกก็ให้ถือว่าให้เล่น
อัตราจังหวะเดียวกับห้องที่ผ่านมา เลข 4 ตัวบนแสดงถึงจำนวนของจังหวะ(Beat) ที่มีในหนึ่งห้องในที่
นี้ก็คือ มี 4 จังหวะในหนึ่งห้องเลข 4 ตัวล่างแสดงถึงประเภทของโน๊ตที่ใช้เดินจังหวะ ซึ่งในที่นี้เลข 4
ตัวล่างแสดงว่าใช้ Quater Note หรือ โน๊ต 1 จังหวะในการเดินจังหวะของเพลง สำหรับมือใหม่อาจ
ยังไม่ต้องกังวลกับเรื่องอัตราจังหวะนี้นะครับ เดี๋ยวจะพาให้งงกันไปใหญ่ เพียงแค่พอให้รู้ว่ามันคือ
ตัวเลขแสดงอะไรก็พอ
3. ตัวเลขที่อยู่บนเส้นแนวนอนของ Tab จะบอกให้รู้ว่าต้องกดที่ช่องใด และดีดที่สายใด



ตัวเลขที่อยู่บนเส้นทั้ง 4 ของ Tab จะบอกถึงตำแหน่งช่องหรือเฟลต (Fret) บนคอ Ukulele ที่จะต้องกด
และดีดที่สายนั้น ๆ นั่นเอง เช่นจากรูปข้างบน ในห้องที่ 1 มีเลข 0, 2, 4 และ 5 อยู่บนเส้นที่แสดงถึง
สายที่ 3 ของ Ukulele ก็จะสามารถอ่าน Tab ออกมามีความหมายดังนี้ครับ
- เลข 0 อยู่บนเส้นที่ 3 ก็แปลว่า ไม่ต้องกดอะไรเลยบนสายที่ 3 แล้วก็ดีดสายที่ 3 หนึ่งครั้ง
(ซึ่งก็คือให้ดีดสายที่ 3 เปล่า ๆ หนึ่งครั้งนั้นเอง)
- เลข 2 อยู่บนสายที่ 3 ก็แปลว่า ให้ใช้นิ้วกดสายที่ 3 ในช่องที่ 2 แล้วก็ดีดสายที่ 3 หนึ่งครั้ง
- เลข 4 อยู่บนสายที่ 3 ก็แปลว่า ให้ใช้นิ้วกดสายที่ 3 ในช่องที่ 4 แล้วก็ดีดสายที่ 3 หนึ่งครั้ง
- เลข 5 อยู่บนสายที่ 3 ก็แปลว่า ให้ใช้นิ้วกดสายที่ 3 ในช่องที่ 5 แล้วก็ดีดสายที่ 3 หนึ่งครั้ง
ส่วนเส้นที่แสดงถึงสายอื่น ๆ ไม่มีตัวเลขอะไรอยู่เลย ก็แสดงว่าไม่ต้องกดหรือดีดในสายนั้น ๆ เลยครับ
ซึ่งหมายความว่าในห้องแรกนี้สายอื่น ๆ ไม่ได้ถูกเล่นนั่นเอง
ถ้าเราลองอ่าน Tab แล้วเล่นตามในห้องที่ 1 เราก็จะเล่นออกมาเป็นโน๊ต 4 ตัว คือ โด, เร, มี, ฟา ครับ
ใครลองแล้วไม่ได้ตามนี้ แสดงว่าอ่าน Tab ผิดแล้วล่ะครับ ลองกลับไปค่อย ๆ อ่านทวนแล้วลองใหม่
อีกทีนะครับ
ในห้องที่ 2 จะแสดงตัวอย่างตัวเลขที่อยู่บนเส้น Tab ที่ให้เล่นโน๊ตหลายตัวพร้อม ๆ กัน ตัวอย่างแรก
มีเลข 3 อยู่บนสายที่ 1 ก็แปลว่าให้กดช่องที่ 3 บนสายที่หนึ่ง และมีเลข 0 อยู่บนสายที่ 2, 3 และ 4
ก็หมายถึงให้ดีดสายเปล่าสายที่ 2, 3 และ 4 ตำแหน่งตัวเลขทั้งหมดอยู่ตรงกันในแนวตั้ง ก็คือให้เล่นไป
พร้อม ๆ กันในจังหวะเดียวกัน ซึ่งในที่นี้ก็คือการจับคอร์ด C แล้วดีดสายทั้ง 4 เส้นพร้อม ๆ กันนั่นเอง
ครับ ถัดมาก็เป็รูป Tab ที่ให้จับคอร์ด Am, Dm และ G7 แล้วดีดสายทั้ง 4 เส้นพร้อม ๆ กันตามลำดับ
4. เส้นกำกับจังหวะของ Tab จะบอกให้รู้ว่าต้องเล่นเสียงนั้น ๆ นานเท่าใด
นอกจากตัวเลขบนแต่ละเส้นของ Tab จะบอกให้เรารู้ว่าจะต้องดีดสายใดช่องไหนแล้ว ยังสามารถบอก
ความยาวของเสียงที่เล่นในแต่ละโน๊ตได้ด้วย เส้นกำกับจังหวะ


ห้องที่ 1 : มีเลข 3 อยู่บนสายที่ 1 แล้วไม่มีเส้นกำกับจังหวะใดใด ด้านล่าง หมายความว่ากดสายที่ 1
! ในช่องที่ 3 และให้ดีดสาย 1 ให้เสียงดังนานเป็นเวลา 4 จังหวะ (ดีดแล้วนับ1...2...3...4...)
! เปรียบเทียบได้กับ โน๊ตตัวกลมในระบบโน๊ตมาตราฐาน
ห้องที่ 2 : สังเกตดูจะมีเส้นกำกับจังหวะ เป็นขีดเส้นสั้น ๆ ในแนวตั้ง อยู่ข้างใต้บรรทัดของ Tab
! หมายความว่ากดสายที่ 1 ในช่องที่ 3 และให้ดีดสาย 1 ให้เสียงดังนานเป็นเวลา 2 จังหวะ
! (ดีดแล้วนับ1...2...) เปรียบเทียบได้กับ โน๊ตขาวในระบบโน๊ตมาตราฐาน
ห้องที่ 3 : สังเกตดูจะมีเส้นกำกับจังหวะ เป็นขีดเส้นยาว ๆ ในแนวตั้ง อยู่ข้างใต้บรรทัดของ Tab
! หมายความว่ากดสายที่ 1 ในช่องที่ 3 และให้ดีดสาย 1 ให้เสียงดังนานเป็นเวลา 1 จังหวะ
! (ดีดแล้วนับ1...) เปรียบเทียบได้กับ โน๊ตดำในระบบโน๊ตมาตราฐาน
ห้องที่ 4 : สังเกตดูจะมีเส้นกำกับจังหวะ เป็นขีดเส้นยาว + เส้นเขบ็ด 1 เส้น อยู่ข้างใต้บรรทัดของ Tab
! หมายความว่ากดสายที่ 1 ในช่องที่ 3 และให้ดีดสาย 1 ให้เสียงดังนานเป็นเวลา 1/2 จังหวะ
! (ดีดให้ได้ 2 ครั้งขณะนับ 1...) เปรียบเทียบได้กับ โน๊ตเขบ็ด 1 ชั้นในระบบโน๊ตมาตราฐาน
ห้องที่ 5 : สังเกตดูจะมีเส้นกำกับจังหวะ เป็นขีดเส้นยาว + เส้นเขบ็ด 2 เส้น อยู่ข้างใต้บรรทัดของ Tab
! หมายความว่ากดสายที่ 1 ในช่องที่ 3 และให้ดีดสาย 1 ให้เสียงดังนานเป็นเวลา 1/4 จังหวะ
! (ดีดให้ได้ 4ครั้งขณะนับ 1...) เปรียบเทียบได้กับ โน๊ตเขบ็ด 2 ชั้นในระบบโน๊ตมาตราฐาน
ห้องที่ 6 : ถัดมาหากไปเจอที่เส้นกำกับจังหวะ มีเครื่องหมาย จุด” ( . ) อยู่ด้วย จะหมายความว่า
! ให้เพิ่มความยาวของเสียงที่เล่นไปอีกครึ่งหนึ่ง เช่นแต่เดิมเล่นเป็น 1 จังหวะ ก็ให้เพิ่ม
! ความยาวของเสียงไปอีกครึ่งหนึ่งก็คือ 1/2 จังหวะ รวมแล้วโน๊ตนี้ต้องเล่นทั้งหมดนาน
! 1 + 1/2 จังหวะนั่นเอง แล้วแต่ว่าสัญลักษณ์ จุดนี้จะไปอยู่คู่กับเส้นกำกับจังหวะอะไร
! ก็บวกคำนวณกันเอาเองละกันนะครับ
และมียังลักษณะการเล่นบางประเภทที่มีการ คร่อมจังหวะคือ โดยปกติแล้วในหนึ่งจังหวะ
! เราอาจจะจะเล่น 1, 2, หรือ 4 โน๊ต แต่ในบางเพลงกำหนดให้เล่นเป็น 3 โน๊ตในหนึ่งจังหวะ
(หรืออาจจะเป็น 3 โน๊ตใน 1/2 จังหวะ) เรียกว่า “Triplet” สัญลักษณ์จะมีขีดด้านล่างเชื่อมต่อ
! กันและมีเลข 3 กำกับเอาไว้) ซึ่งการเล่นโน๊ตในลักษณะแบบนี้อาจจะยากไปสำหรับมือใหม่
! แต่หากเล่นได้แล้วจะทำให้เพลงที่เราเล่นมีความไพเราะและสวยงามขึ้นอีกมากมาย
5. สัญลักษณ์ การหยุด ของ Tab เพื่อให้รู้ว่าเมื่อไรต้องหยุดเล่น และหยุดนานเท่าใด
ในการเล่นเพลงแต่ละเพลงนั้นไม่ได้หมายความว่าเราจะต้องเล่นให้เกิดเสียงโน๊ตอยู่ตลอดเวลานะครับ
ดนตรีจะเป็นดนตรีและมีความสวยงามได้ การหยุดเล่นในบางจังหวะนั้นก็เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิด
ความไพเราะของเพลง บน Tab ก็จะมีสัญลักษณะให้รู้ว่าเมื่อใดต้องหยุดเล่นโน๊ต และหยุดนานเท่าใด



ห้องที่ 1 : ถ้าเห็นสัญลักษณ์เป็นขีดทึบตามแนวนขวางเหมือนเครื่องหมายลบ (-) อยู่ใต้เส้น Tab ของ
! สายที่ 2 นั่นคือสัญลักษณะที่แสดง การหยุดเล่นนาน 4 จังหวะ
ห้องที่ 2 : แต่ถ้าเจ้าสัญลักษณ์เป็นขีดทึบตามแนวนขวางเหมือนเครื่องหมายลบ (-) ไปอยู่บนเส้น Tab
ของสายที่ 3 นั่นคือสัญลักษณะที่แสดง การหยุดเล่นนาน 2 จังหวะ
ห้องที่ 3 : สัญลักษณะที่เห็นอยู่ท้ายสุดของห้องที่ 3 คือสัญลักษณะที่แสดง การหยุดเล่น
! นาน 1 จังหวะ
ห้องที่ 4 : สัญลักษณะที่เห็นอยู่ท้ายสุดของห้องที่ 4 คือสัญลักษณะที่แสดง การหยุดเล่น
! นาน 1/2 จังหวะ
ห้องที่ 5 : สัญลักษณะที่เห็นอยู่ท้ายสุดของห้องที่ 5 คือสัญลักษณะที่แสดง การหยุดเล่น
! นาน 1/4 จังหวะ
6. สัญลักษณ์แสดงเทคนิคการเล่น เพื่อให้รู้ว่าใช้เทคนิคการเล่นอย่างไรในเสียงนั้น ๆ
นอกจากการอ่าน Tab จะทำให้เรารู้ว่าเล่นเสียงไหน ที่ตำแหน่งใด นานเท่าใด ต้องหยุดเมื่อใด
และหยุดนานเท่าไรแล้ว ยังมีสัญลักษณ์บน Tab ที่จะช่วยบอกให้ผู้อ่านได้รู้ว่าโน๊ตหรือเสียงนั้น ๆ
ใช้เทคนิคการเล่นอย่างไร เพื่อให้สามารถได้เสียงที่เล่นออกมา และได้อารมณ์เพลง (Feeling)
เหมือนกับต้นฉบับ สัญลักษณ์เทคนิคการเล่นเบื้องต้นที่มือใหม่ควรรู้ได้แก่...

https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgJR6yVnt-VkQeVz2l5dBxttsGFvv60sJ09TqkqUldu_GEhrZDliIRusso78XI01eZQ0hiCBWgGqC3tlxgW5Fy1evsB1d1QpXQmIIiqDjp152w1lE7PPyCgBX2Wsbwqf8XLNdyl-LSUkk9M/s400/7.jpg

ห้องที่ 1 : ถ้าเห็นสัญลักษณ์เป็นเส้นโค้งเชื่อมต่อกันข้างบนระหว่างตัวเลข 2 ตัว แสดงว่าให้เล่นโดย
! ใช้เทคนิค Hammer On บางครั้งอาจจะมีตัวอักษรย่อ HO กำกับเอาไว้ให้ด้วย ซึ่งวิธีการ
! เล่นก็คือ เมื่อเล่นโน๊ตแรกแล้ว ในจังหวะต่อไปให้ใช้นิ้วกดลงไปในตำแหน่งของโน๊ตตัวที่
! สองโดยไม่ต้องดีด นั่นก็แสดงว่าทั้งสองโน๊ตจะต้องถูกกดอยู่บนสายเส้นเดียวกัน
! และโน๊ตตัวที่สองจะต้องมีเสียงสูงกว่าเสียงแรกเสมอ
! จากรูปตัวอย่างในห้องที่ 1 ให้เรากดสายที่ 1 ในช่องที่ 3 แล้วดีดสายที่ 1 ในจังหวะแรก
! (โดยที่นิ้วยังคงกดเสียงแรกค้างไว้) ในจังหวะถัดมาให้กดสายที่ 1 ในช่องที่ 5 โดยไม่ต้อง
! ดีดสายที่ 1 อีกครั้ง
!
ห้องที่ 2 : แต่ถ้าโน๊ตตัวแรกที่เล่นสูงกว่าโน๊ตตัวที่สอง เทคนิคนี้จะเรียกว่า Pull Off บน Tab จะใช้รูป
! สัญลักษณ์เป็นเส้นโค้งเชื่อมต่อกันข้างบนเหมือนกัน และอาจจะมีอักษรย่อ PO กำกับไว้ให้
! วิธีเล่นเทคนิคนี้จะตรงกันข้ามกับเทคนิคแรก คือให้เราวางนิ้วเอาไว้ก่อนทั้งสองโน๊ตแล้วให้
! ดีดโน๊ตแรกก่อนในจังหวะที่หนึ่ง ในจังหวะถัดไปให้ยกนิ้วที่กดสายโน๊ตเสียงแรกออกเพื่อให้
! เกิดเสียงของโน๊ตตัวที่สองโดยไม่ต้องดีด
! จากรูปตัวอย่างในห้องที่ 2 ให้เราวางนิ้วกดสายที่ 1 ในช่องที่ 3 และช่องที่ 5 เอาไว้ก่อน
! แล้วดีดสายที่ 1 ในจังหวะแรก ในจังหวะถัดมาให้ยกนิ้วที่กดสายที่ 1 ช่องที่ 5 ออก เพื่อ
! ให้เหลือนิ้วที่กดช่องที่ 3 ไว้เพียงช่องเดียว โดยไม่ต้องดีดสายที่ 1 อีกครั้ง
ห้องที่ 3 : หากระหว่างตัวเลขสองตัวบนเส้น Tab มีเส้นเฉียงขีดเอาไว้ จะเป็นสัญลักษณ์ว่าต้องการ
! ให้เล่นด้วยเทคนิค Slide ครับ ซึ่งมีอยู่ 2 แบบ คือ ถ้าเป็นเส้นเฉลัยงขีดขึ้นจะให้เล่นด้วย
! เทคนิค Slide Up เมื่อดีดโน๊ตแรกแล้วให้ลากนิ้วไปหาโน๊ตที่ 2 แล้วดีดโน๊ตที่ 2 อีกที ซึ่ง
! โน๊ตตัวที่ 2 จะเป็นโน๊ตที่มีเสียงสูงขึ้นเสมอ แต่ถ้าเป็นเส้นเฉียงขีดลงจะให้เล่นด้วยเทคนิค
! Slide Down ก็เป็นในทางกลับกัน คือให้ดีดโน๊ตแรกที่เป็นเสียงสูงก่อน แล้วค่อยลากนิ้ว
! มายังโน๊ตตัวที่ 2 ซึ่งมีเสียงต่ำกว่า แล้วดีดโน๊ตที่ 2 อีกครั้ง
! จากรูปตัวอย่างในห้องที่ 3 ให้เราวางนิ้วกดสายที่ 1 ในช่องที่ 3 แล้วดีดสายที่ 1 ในจังหวะ
! แรก จากนั้นให้ลากเลื่อนนิ้วที่กดสายหนึ่งช่องที่ 3 อยู่นั้นไปยังช่องที่ 5 แล้วจึงดีดสายที่ 1
! อีกครั้งเป็นการเล่นเทคนิค Slide Up ถัดมาก็เป็น Slide Down โดยเริ่มจากให้วางนิ้วไว้
! สายที่ 1 ช่องที่ 5 ก่อน แล้วดีดสายที่ 1 ในจังหวะแรก จากนั้นก็ให้ลากนิ้วที่กดช่องที่ 5 อยู่
! ไปยังช่องที่ 3 แล้วดีดสายที่ 1 อีกครั้งครับ
ห้องที่ 4 : สัญลักษณะที่เห็นอยู่ในห้องที่ 4 จะคล้าย ๆ กับเทคนิค Slide ในห้องที่ 3 แต่จะมีเส้นโค้ง ๆ
! เชื่อมโยงระหว่างข้างบนตัวเลข 2 ตัวเพิ่มขึ้นมา วิธีการเล่นก็จะเหมือนกับเทคนิค Slide
! แต่จะต่างกันตรงที่ในจังหวะโน๊ตที่ 2 นั้นไม่ต้องดีด
ห้องที่ 5 : หากว่าด้านล่างตัวเลขมีสัญลักษณะเป็นเส้นโค้งเชื่อมต่อมายังจังหวะถัดไป คือสัญลักษณ์
! ที่แสดงการเล่นด้วยเทคนิค Link วิธีการเล่นก็คือเมื่อเล่นโน๊ตแรกแล้ว ให้กดนิ้วแช่เอาไว้
! อย่างนั้นจนครบเวลาของจังหวะที่ 2 ด้วย และหากว่ามีสัญลักษณ์ Link ติดกันหลาย ๆ อัน
! ก็ให้กดแช่เอาไว้ให้เสียงของโน๊ตนั้น ๆ ดังยาวจนครบเวลาของจังหวะที่กำหนด
!
! จากรูปตัวอย่างในห้องที่ 5 ให้เราวางนิ้วกดสายที่ 1 ในช่องที่ 3 แล้วดีดสายที่ 1 และนับ
! หนึ่งจังหวะ แลยังคงกดนิ้วแช่เอาไว้ให้เสียงของโน๊ตดังยาวไปอีกหนึ่งจังหวะด้วย ก่อน
! ที่จะเปลี่ยนนิ้วมากดสายที่ 1 ช่องที่ 5 แล้วดีดสายที่ 1 เพื่อเล่นโน๊ตถัดมาหนึ่งจังหวะ และ
! กดนิ้วแช่เอาไว้ให้เสียงของโน๊ตดังยาวไปอีกหนึ่งจังหวะเช่นกัน
ห้องที่ 6 และ ห้องที่ 7 :
! แสดงให้เห็นสัญลักษณะบน Tab ที่แสดงการเล่นซ้ำ (Repeat) ครับ ในห้องที่ 6 จะเป็นรูป
! สัญลักษณะแสดงถึงจุดเริ่มต้นของการเล่นซ้ำ (Repeat Open) ส่วนในห้องที่ 7 จะเป็นรูป
! สัญลักษณะแสดงถึงจุดสิ้นสุดของการเล่นซ้ำ (Repeat Close) ซึ่งก็หมายความว่าทุกห้อง
! ที่อยู่ระหว่างรูปสัญญลักษณ์ทั้งสองนี้ให้เล่นซ้ำอีกหนึ่งรอบ หากจะให้เล่นซ้ำมากกว่าหนึ่ง
! รอบก็จะมีตัวเลขจำนวนรอบเขียนกำกับเอาไว้ เช่น ถ้าให้เล่นซ้ำ 3 รอบก็จะระบุไว้เป็น X 3
เพียงเข้าใจวิธีการอ่าน Tab เบื้องต้น 5 ข้อนี้ ก็เพียงพอแล้วสำหรับผู้เริ่มต้นฝึกหัดเล่น Ukulele ที่จะ
สามารถอ่าน แล้วเล่นตาม Tab นั้น ได้แล้วครับ ถึงแม้ว่าสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่อยู่บน Tab จะมีอีกเยอะ
แต่ส่วนใหญ่ก็มักไม่ค่อยได้พบเห็นกันบ่อยนักสำหรับ Tab เพลงทั่ว ๆ ไป และความรู้ในการอ่าน Tab
พื้นฐานนี้ก็จะทำให้เราสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการอ่าน Tab ที่มีรายละเอียด และมีความซับซ้อนที่
มากขึ้นไปกว่านี้ได้ครับ
อ่านไปอ่านมาอาจจะเริ่ม งงอย่าเพิ่งท้อนะครับ ลองพยายามค่อย ๆ อ่านทำความเข้าใจกันไป และ
หากลองเล่นตามไปด้วยจะได้ฟังเสียงที่แตกต่างกันในเทคนิคการเล่นแต่ละแบบ ก็จะยิ่งทำให้เข้าใจได้
ง่ายมากยิ่งขึ้นครับ... เวลาหัดเล่นจาก Tab ในความเป็นจริงแล้ว ก็ไม่ถึงขนาดกับต้องซีเรียสนั่งนับ
จังหวะกันให้ได้ตรงเป๊ะ ๆ หรอกครับ หากมีต้นฉบับเพลงให้ฟังเราก็ฟังซ้ำ ๆ หลาย ๆ รอบก็จะรู้และจับ
จังหวะได้เอง ในตอนเริ่มต้นฝึกเล่นจาก Tab ให้ใจเย็น ๆ ครับค่อย ๆ หัดเล่นไปทีละห้องทีละห้อง อย่า
เพิ่งใจร้อนรีบเล่นให้ได้จบเพลงเร็ว ๆ อาจจะเริ่มจากเล่นจังหวะช้า ๆ ก่อนก็ได้ พอห้องไหนเล่นได้คล่อง
และเคยชินกับการวางนิ้วและการดีดแล้ว ก็ค่อย ๆ เพิ่มความเร็วในการเล่นให้ตรงกับต้นฉบับ เมื่อได้
แล้วก็ให้ลองเปิดเพลงต้นฉบับ ลองเล่นไปพร้อม ๆ กับเพลงต้นฉบับดู อาจจะทำให้ได้รู้ว่าเราอาจจะมี
ข้อแตกต่างในจุดไหนบ้าง ก็ค่อย ๆ ปรับแก้กันไป หรือบางทีเราก็อาจจะอยากเล่นในรูปแบบของเรา
ตามอารมณ์ และความรู้สึกของเราเองก็ได้ โดยอาศัย Tab และเพลงต้นฉบับเป็นเพียงแนวทางเพื่อให้
หัดเล่นได้ง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้นเท่านั้น 







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น